Social Icons

รายการบล็อกเครือข่าย

Featured Posts

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

code facebook

<div id="fb-root"></div>
< script>(function(d, s, id) {
var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
if (d.getElementById(id)) return;
js = d.createElement(s); js.id = id;
js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=100001090676747";
fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
< div class="fb-comments" data-href="http://notht.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650"></div>

 ที่มา http://mediasuwat.blogspot.com/2013/05/code-facebook.html

ครูที่พูดไม่ได้

การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”
เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

ครูที่พูดไม่ได้

"บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียน จะมีส่วนในการเสริมสร้างความคิด จิตใจ และคุณธรรมต่างๆอันพึงประสงค์ได้ ครูอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ ครูพูดได้ และ ครูที่พูดไม่ได้ ครูพูดได้เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งได้รับการยกย่องและยอมรับกันว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ครูพูดไม่ได้ มักได้รับการกล่าวถึงน้อย บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนถือว่าเป็นครูที่พูดไม่ได้ เชื่อว่าโรงเรียนที่สะอาดร่มรื่นเรียบง่าย สดชื่น สงบ แจ่มใส มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล มีความพร้อมเป็นปัจจุบัน
พร้อมที่จะให้ครูและนักเรียนได้ใช้ตลอดเวลาย่อมจะทำให้ครูและนักเรียนได้รับอิทธิพลทำให้เป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงามรักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่ายและรักความร่มรื่นไปด้วย ถือว่าคุณธรรมต่างๆอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรจะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโดยครูประเภทพูดไม่ได้นี้จะช่วยได้เป็นอย่างมาก"

ที่มา  http://northnfe.blogspot.com/2012/07/blog-post_475.html

การศึกษาเพื่อสร้างสังคมเข้มแข็ง


“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน : บนฐานภูมิปัญญาและการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์

"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"

กระแสความคิดที่ชัดเจนของคณะศึกษาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาแบบรวมศูนย์ เป็นการพัฒนาที่มุ่งหวังแต่ความเจริญในระดับมหภาค จนทำให้ชุมชนชนบท ซึ่งคนพี่น้องชาวไทยของเรากว่า ร้อยละ 70 ยังใช้เป็นฐานในการดำรงชีวิต ถูกมองเป็นเพียงฐานวัตถุดิบและสายพานลำเลียงแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาในรอบ 30 - 40 ปีจึงกลายเป็นการพัฒนาที่ค่อยๆ ทำให้ชนบทอ่อนแอลงเป็นลำดับ ทั้งในแง่กำลังคนและในแง่ศักยภาพการผลิต


แนวคิดใหม่ของการพัฒนาจึงเน้นการพลิกฟื้นความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้ด้วยตนเอง เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ พึ่งตนเองได้ในแง่ปัจจัยการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการผลิตเพื่อขายได้ในระดับหนึ่งด้วย

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้บังเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทยได้นั้น ก็คงหนีไม่พ้นปัจจัยเรื่องกำลังคนเป็นสำคัญ แนวคิดของคณะศึกษาจึงมุ่งเน้นที่การผลลิตและพัฒนากำลังคนในท้องถิ่นต่างๆ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานที่จะประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้ แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ การปลูกฝังให้เยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังของท้องถิ่นเหล่านี้ มีความรัก มีความผูกพันต่อท้องถิ่น

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นผู้หนึ่งที่เน้นรูปแบบการศึกษายุคใหม่ที่ปลูกฝังความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นให้แก่เด็กๆ และในขณะเดียวกันก็ให้ทักษะความรู้ความสามารถเพื่อที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้น เป็นกำลังการผลิตที่เก่งกล้าสามารถได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลเพียงใด ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การเรียนจะให้รักถิ่นได้ มันต้องมีความรู้สึกว่า ถิ่นเรานี้เลี้ยงเราได้ เรามีเกียรติเพราะอยู่ในถิ่นของเรา สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ โดยที่ช่วยเหลือคนอื่นได้ ช่วยเหลือตัวเราเองได้ ขณะนี้การเรียนการสอนของเราสักแต่สอนให้รักถิ่นแต่ปาก แต่มิได้แสดงให้เด็กเห็นและเชื่ออย่างชัดเจนว่า ท้องถิ่นของเขา จะทำให้เขาอยู่รอดอย่างมีเกียรติในสังคมได้อย่างไร"



ดร.โกวิท กล่าววิจารณ์เรื่องนี้ต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้บัณฑิตจบใหม่ ก็ไม่กลับไปบ้านตัวเอง ไม่ไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เห็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะงานการดีๆ มีแต่ในเมืองหลวง นักศึกษาเดี๋ยวนี้ก็เล่าเรียนกันแต่เรื่องสภาพของเมืองหลวง ไม่ค่อยได้เรียนเกี่ยวกับชนบท เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ที่จริงเมืองอยู่ได้ด้วยชนบท และชนบทก็อยู่ได้เพราะเมือง เพราะฉะนั้นการเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนเกี่ยวกับท้องถิ่น ให้รู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเองก่อน รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น ปัญหาของท้องถิ่น เรียนรู้คู่ไปกับการลองทำจริงๆ ให้เห็นโอกาสและความหวังในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นค่อยไปเรียนเรื่องไกลตัวเรื่องเมือง ก็จะทำให้คนคนนั้นเป็นคนที่มีความรู้รอบตัว สามารถพัฒนาตนเอง อยู่ในชนบทก็ได้ หรือจะมาสานงาน สร้างงานอยู่ในเมืองก็ได้"

แนวคิดสำคัญของคณะศึกษาในการส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนนั้น เน้นที่การปลุกพลังชุมชนขึ้นมาบนฐานภูมิปัญญา และการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับแนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และการบริหารทรัพยากรของโรงเรียนตามสภาพ ความต้องการ ความเชื่อ ตลอดจนรากเหง้าทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ เอง


 
 
http://northnfe.blogspot.com/2012/07/

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาสัมพันธ์กศน.ภาคเหนือ


สถาบัน กศน. ภาคเหนือ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างบล็อก” 2556   ระหว่างวันที่  27 - 29  พฤษภาคม  2556   ณ ห้องประชุมสัมมนา 1 สถาบัน กศน. ภาคเหนือ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษาที่อาศัยเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ท  โดยมีนายประเสริฐ  หอมดี  ผู้อำนวยการ  สถาบัน กศน. ภาคเหนือ  เป็นประธานในพิธีเปิด  ผู้เข้ารับการอบรม เป็นข้าราชการครูและบุคลากรจากสำนักงาน กศน. จังหวัดในเขตภาคเหนือ   และบุคลากรของสถาบัน กศน. ภาคเหนือ   ทั้งสิ้น 29  คน  วิทยากรการอบรมโดย นายสุวัฒน์ ธรรมสุนทร ครูชำนาญการพิเศษ และนางสาวนัชรี  อุ่มบางตลาด  สถาบัน กศน. ภาคเหนือ

ความคิดเห็นจากfacebook

< div class="fb-comments" data-href="http://notht.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650">
 

Sample text

Sample Text

Sample Text